โรคที่พบบ่อยของระบบประสาทและสมอง

       โรคระบบประสาทและสมองมีอาการและวิธีรักษาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของโรคและความรุนแรงของโรค ดังนั้น หากมีอาการหรือไม่แน่ใจว่าเป็นโรคอะไร ควรปรึกษาแพทย์โดยทันทีเพื่อทำการวินิจฉัย ตรวจเพื่อรักษาโรคที่เหมาะสม



       สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ และสลับซับซ้อนที่สุด เพราะสมองทำหน้าที่ไม่ต่างจากศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานของทุกส่วนในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะต่าง ๆ การเคลื่อนไหว ความคิด ความจำ ประสาทรับรู้ หรือพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว เพราะหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้แขนขาอ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือก่อให้เกิดความพิการแก่ร่างกายได้ และหากรุนแรงก็อาจถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต


โรคที่พบบ่อย ของระบบประสาทและสมอง

    • โรคหลอดเลือดสมองตีบ มีอาการของแขน ขา หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ อย่างทันทีทันใด เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองตีบ ตัน หรือแตก ทำให้เนื้อสมองขาดอาหารและออกซิเจน เกิดภาวะเนื้อสมองเสียหาย
    • โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการที่เซลล์สมองถูกทำลายโดยไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องทางสมองในส่วนของสติปัญญา เช่น ความคิด ความจำ และการตัดสินใจ ในขณะที่สมองส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวยังใช้การได้ดี
    • โรคเนื้องอกสมอง เกิดจากการที่มีเนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดปกติในเซลล์สมอง หรือบริเวณใกล้เคียงสมอง จนกระทบต่อระบบการทำงานของระบบสมอง และประสาท ทำให้เกิดอาการต่างๆ กับร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มองเห็นภาพไม่ชัด มีปัญหาด้านการพูด เคลื่อนไหว อาจรุนแรงถึงขั้นมีอาการชัก หรือเป็นอัมพาต
    • โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม สมองพิการแต่กำเนิด พยาธิในสมอง เส้นเลือดสมองผิดปกติ สมองได้รับความกระทบกระเทือน มีเนื้องอกสมอง
    • โรคพาร์กินสัน เป็นผลมาจากการตายของเซลล์สมองซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารเคมีที่เรียกว่า โดพามีน (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อระดับของโดพามีนลดลง การควบคุมกล้ามเนื้อก็ยากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการสั่นบริเวณมือ แขน ขา ขากรรไกร เคลื่อนไหวช้า ขยับแขนขา แสดงท่าทางและเดินลำบาก
    • โรคกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือ กล้ามเนื้อบิดเกร็ง เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อบีบรัดผิดปกติ และไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ ทำให้อวัยวะบางส่วนเกิดจากการกระตุก เคลื่อนตัวช้าแบบซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะเกิดบริเวณตรงคอ มือ ขา ดวงตาส่วนบน ลิ้น กล่องเสียง เป็นต้น โดยจะเกิดอาการเมื่อเวลาเครียด หรือกังวล
    • ปวดศีรษะและไมเกรน เป็นการปวดศีรษะที่รบกวนชีวิตประจำวัน โดยมีลักษณะการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น

อาการปวดศีรษะแบบไหน ? ที่ต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

       อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสามารถเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ความเครียด หรือไมเกรน ซึ่งมักจะไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่ในบางกรณีอาจเป็นเครื่องสัญญาณของโรคหรือภาวะที่ต้องรักษาด่วน เช่น อาการเจ็บศีรษะที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้


อาการปวดศีรษะที่ต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด มีดังนี้

  1. มีอาการปวดศีรษะ อย่างรวดเร็วและรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  2. มีอาการปวดศีรษะเป็นครั้งคราว แต่ปวดรุนแรงมาก
  3. ปวดศีรษะรุนแรงหลังได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกับศีรษะอย่างรุนแรง
  4. มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือเคยเป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือหลอดเลือดสูง
  5. ปวดศีรษะซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ หรืออยู่เป็นประจำ
  6. มีอาการปวดศีรษะ เกิดขึ้นร่วมกับอาการแขนขาอ่อนแรง
  7. มีอายุมากกว่า 50 ปี และมีอาการปวดศีรษะเป็นประจำ
  8. เมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือร่างกายเปลี่ยนท่าจะมีอาการปวดศีรษะ
  9. มีปัญหาด้านการมองเห็นและมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย
  10. ถ้ามีอาการปวดศีรษะที่สะดวกขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าตัว และอาการไม่รุนแรง ๆ หรือไม่มีอาการแสดงอื่น ๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา แต่หากมีอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง หรือไม่ประสบการณ์เหมือนเคย ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาให้เหมาะสม

เครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคทางสมอง

       เพื่อการวินิจฉัยโรคระบบประสาทและสมองให้มีความถูกต้อง ตรงจุด และสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว เราจึงนำเอาเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการตรวจวินิจฉัย เพื่อยกระดับรักษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าให้ระบบประสาทและสมองฟื้นฟู และให้ผู้ป่วยกลับมาแข็งแรง ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง

    • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะผิดปกติในศีรษะ ว่าส่วนไหนเป็นจุดเสียหายที่ทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น เนื้อสมอง เส้นเลือดแดง หรือดำ สามารถค้นพบเนื้องอก มะเร็ง การโป่งพอง เลือดออกของสมอง เป็นต้น
    • การตรวจหลอดเลือดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRA) เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเนื่องจากไม่ต้องใส่อุปกรณ์สวนหลอดเลือดและผู้ป่วยยังไม่ได้รับรังสีเอกซ์อีกด้วย
    • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG (Electroencephalography) ช่วยในการวินิจฉัยโรคทางสมองและบอกตำแหน่งของพยาธิสภาพในสมอง รวมถึงการวินิจฉัยโรคลมชัก
    • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ EMG (Electromyography) ใช้ในการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทและทางกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

       การตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคทางสมองและระบบประสาทจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เพราะหากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็จะได้รีบวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที